บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

ประมาณราคางานก่อสร้างด้วย SketchUP 2017

รูปภาพ
Estimate By SketchUP Model Info (ESMI)         โดยทั่วไปการประมาณราคางานก่อสร้างนั้น ประมาณมาจากการดูแบบก่อสร้าง 2 มิติ แล้ว นำ ความยาว ความกว้าง ความสูง และ จำนวนของวัสดุ มาคำนวณเพื่อนำมารวบรวมปริมาณวัสดุ แล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วยของวัสดุ รวมกับ ปริมาณวัสดุคูณด้วยราคาค่าแรงงานต่อหน่วย  แล้วนำทุกรายการ มาสรุปรวมเป็นราคาค่าก่อสร้างทั้งหมดของงานได้ หรือที่เรียกว่า BOQ. ( Bill of Quantities)           ในปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยลดเวลาในการประมาณราคา เพิ่มเติม อย่างเช่น ประมาณราคาด้วย โปรแกรมเขียนแบบ 2 มิติ อย่าง AutoCAD และ 3 มิติ อย่าง SketchUP ซึ่งแบบ 3 มิติ มีความแม่นยำมากขึ้น ด้วยการเห็นงานก่อสร้างใกล้เคียงความจริงที่สุด จึงทำให้มองเห็น ปริมาณบางอย่าง ที่แบบ 2 มิติ แสดงไม่ได้ หรือ ไม่ได้นำเอา แบบโครงสร้าง มาอัพเดทกับ แบบสถาปัตย์ แบบไฟฟ้า แบบสุขาภิบาล     ในครั้งนี้ขอจึงนำตัวอย่าง การถอดแบบ ประมาณราคางานก่อสร้าง ด้วยโปรแกรม SketchUP ดังต่อไปนี้ ก).การรวบรวมเส้นต่างๆของชิ้นงานมาทำเป็น Component แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อดู คุณสมบัติ เช่น ความยาว พื้นที่ หรือ ปริมาตร ของชิ้นงานนั้นๆ

BarCut-list และ การจัดกลุ่มเพื่อตัดเหล็กเสริมก่อสร้างในคอนกรีตเสริมเหล็ก

รูปภาพ
 1.BarCut-List ดาวน์โหลดได้ที่นี่ เป็นไฟล์งานตารางคำนวณ ตัวอย่าง ตาราง BarCut-List 2.Group BarCut-List เพื่อตัดจริงหน้างาน ดาวน์โหลดได้ที่นี่ เป็นไฟล์งานตารางคำนวณ แบบเลือกมือ นะครับ  (Manual) หลักเกณฑ์ที่ใช้เลือก ขนาดความยาวในแต่ช่วง ของความยาวเหล็กเส้นมาตรฐาน 10 ม. 1.เลือกความยาวเหล็กใช้งานที่ ยาวที่สุด ก่อน 2.เลือก ความยาวเหล็กใช้งานที่ ยาวที่สุด แต่ ยาวน้อยกว่า ความยาวเหล็ก ที่เหลือจากการตัดครั้งก่อน 3.ทำเหมือน ข้อ 2. จนกว่า ความยาวเหล็กใช้งานที่ ยาวที่สุด จะ มากกว่า ความยาวเหล็ก ที่เหลือจากการตัดครั้งก่อน และเรียกการตัดรอบนี้ว่าเป็น Pattern # 1 4.เลือกจำนวนรอบการตัด ที่น้อยที่สุด จาก กลุ่มความยาวเหล็กใช้งาน ใน Pattern นี้ เพราะหากเลือก รอบการตัด ที่มากที่สุด จะทำให้ จำนวนรอบการตัด ของ ความยาวเหล็กใช้งาน ที่น้อยกว่า จะเกินจำนวนที่ต้องการ จากนั้นจึง เลือกจัดกลุ่มใน Pattern ต่อไป 5.เลือกความยาวเหล็กใช้งาน วิธีเดียวกับ ข้อ 1. ถึง ข้อ 4. เพื่อเลือก  Pattern ต่อๆไป จนครบจำนวนที่ต้องการ ภาพตัวอย่าง การจัดกลุ่ม ตัดเหล็ก หน้างาน เพื่อลดเศษเหล็ก มีข้อจำกัด กรณี ความยาวเหล็กตัด ซ้ำกันใน Pa

แชร์ ฟอนต์ ภาษาไทย สำหรับใช้ในโปรแกรม LibreCAD เขียนแบบ 2 มิติ Free Open Source

รูปภาพ
 เนื่องจาก โปรแกรมเขียนแบบ 2 มิติ  LibreCAD ยังไม่ค่อยมีคนไทยใช้มากนักจึงทำให้ไม่มีฟอนต์ภาษาไทย ติดตั้งมาด้วย ผู้เขียนจึงได้เขียนฟอนต์ภาษาไทยขึ้นมาเพื่อใช้งานเขียนแบบ ตามการสอน ใน YouTube โดย  Civil Engineering's Studio  ใน  LibreCAD(ฟรี): ในที่สุดก็พูดไทยได้ ทดสอบการติดตั้งฟอนต์ภาษาไทยให้โปรแกรม LibreCAD    *ทั้งนี้ ไม่ได้มีการแก้ไขดัดแปลงใดๆในตัวโปรแกรม LibreCAD มีเพียงเขียนฟอนต์ tt.lff ขึ้น แยกต่างหากจากตัวโปรแกรม และติดตั้งเพิ่มเติม ในโฟลเดอร์ fonts เพื่อใช้งานตัวอักษรภาษาไทยเท่านั้น* LibreCAD Version: 2.2.0-rc1 Compiler: GNU GCC 4.9.1 Compiled on: Feb 16 2018 Qt Version: 5.4.1 Boost Version: 1.53.0 ชื่อฟอนต์ tt.lff ดาวน์โหลดได้ที่นี่  แจกจ่ายฟรีครับ เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ววิธีการติดตั้ง ทำได้ด้วยการวางไฟล์ ฟอนต์ tt.lff ในโฟลเดอร์ LibreCAD ที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และ เข้าไปใน Source  --> fonts ตามลำดับ ดังรูป  วางฟอนต์ tt.lff ในโฟลเดอร์ source --> fonts ในโปรแกรม LibreCAD จากนั้นตอนการใช้งาน เพียงเลือกฟอนต์ tt.lff ที่เราได้ติดตั้งไว้แล้ว ตอนเขียนตัวอักษร ต่างๆ ใ

การออกแบบโลโก้

รูปภาพ
ตราสัญลักษณ์ หรือ โลโก้ เป็นเครื่องหมายการค้า เพื่อให้ จดจำ เป็นตัวแทนบ่งบอกว่า หากมีเครื่องหมายนี้ แสดงว่า ได้ติดต่อตรงกับ ความต้องการที่จะได้รับ ในด้านต่างๆ เช่น คุณภาพ ราคา รูปแบบ แนวทางในด้านต่างๆ อย่าง สังคม สิ่งแวดล้อม ความชอบเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  โลโก้ ตัวอย่าง เป็น สัญลักษณ์ " ธ " ซึ่งมีความนัยอีกอย่าง เป็นภาษาอังกฤษ 2 ตัวอักษร มารวมเป็นตัวเดียวกัน " B " และ " S " มาจากคำว่า Basic Solution ผสม 2 ตัวเข้าด้วยกัน ก่อเกิดความแน่นแฟ้นกลมเกลียว อัตราส่วนความกว้างต่อความสูง 1:1 ทำให้ดูมั่นคงเป็นปึกแผ่น ในตราสัญลักษณ์นี้ จึงมี ตัวอักษร รวม 3 ตัว คือ ธ , B , S โดย ธ มาจากชื่อ ธงชัย , B มาจากคำว่า Basic , S มาจากคำว่า Solution  ความหมายแก่นคือ วิธีทำพื้นฐาน สามารถทำได้จริง ประสบความสำเร็จ มั่นคง แน่นแฟ้น มีความน่าเชื่อถือ คาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ ด้วยวิธีการที่มีผู้ทำมาแล้วสำเร็จ และค่อยๆต่อยอดพัฒนาไปทีละก้าว ยืนอยู่บนความเป็นจริง

SketchUP บ้านพักอาศัยชั้นเดียว

รูปภาพ
SketchUp บ้านพักอาศัยชั้นเดียว หลังนี้ ผู้เขียนได้เห็นทางอินเตอร์เน็ต จึงได้เขียนขึ้นเพื่อฝึกมือ ด้านสร้างโมเดล 3 มิติ และ งานด้านอื่นๆ ต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ได้จริง ซึ่งโดยปกติ จะมีขั้นตอน ออกแบบโครงสร้าง เขียนแบบก่อสร้าง 2 มิติ เพื่อขออนุญาติปลูกสร้าง พร้อมรายการคำนวณ ประมาณราคา การจัดหาแหล่งเงินทุน สัญญาก่อสร้าง SPEC.วัสดุ แผนงานก่อสร้างตามระยะเวลาที่กำหนด การจัดซื้อจัดจ้าง การปรับปรุงแบบ As-built Shop Drawing  การจ่ายเงินตามงวดงาน การตรวจสอบงานระหว่างก่อสร้าง การส่งมอบงาน การประกันผลงาน ถือเป็นหนึ่งกระบวนการก่อสร้างบ้านพักอาศัยหนึ่งหลัง ในที่นี้ขอลงไว้ก่อนในขั้นตอนแรก คือ ภาพร่างบ้านพักอาศัยครับ ดูโมเดล 3 มิติบนหน้าเว็ป ได้ที่นี่ แปลพื้น รูปด้านหน้า รูปด้านขวา รูปด้านหลัง รูปด้านซ้าย รูปตัดห้องโถง รูปตัวห้องครัว,ห้องน้ำ รูปตัดห้องโถง รูปตัดห้องนอน ภาพเปอร์สเปคตีป 1  ภาพเปอร์สเปคตีป 2 ภาพเปอร์สเปคตีป 3 ภาพเปอร์สเปคตีป 4